วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายงานการวิจัยในชั้นเรียน

รายงานการวิจัย
การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาภาษาไทย
เรื่อง คำนาม สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ตำบลดอนนางหงส์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม

จัดทำโดย
นายสมโรจน์ บัวสาย
ครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียน
ตำบลดอนนางหงส์ – ตำบลกุดฉิม
ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอธาตุพนม
สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัดนครพนม
รายงานการวิจัย
เรื่อง การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาภาษาไทย เรื่องคำนามสำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ตำบลดอนนางหงส์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
ความสำคัญของปัญหา
จากการสอนวิชาภาษาไทยมาหลายปี พบว่านักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตำบลดอนนางหงส์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการใช้คำไทย 7 ชนิด โดยเฉพาะเรื่องคำนามอยู่ในเกณฑ์ต่ำ ในฐานะที่ผู้วิจัยเป็นครูอาสาสมัครการศึกษานอกโรงเรียนและมีความมุ่งหวังที่จะพัฒนาการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยให้มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดี ผู้วิจัย จึงสนใจที่จะสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อส่งเสริมการเรียนการสอนให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดเวลาสอนของครูและเพื่อสร้างความสนใจให้นักศึกษาเกิดความสนุก ไม่เบื่อหน่ายในบทเรียน เพราะบทเรียนสำเร็จรูปทำให้นักศึกษาที่มีความสามารถต่างกันได้เรียนได้ด้วยตนเองไม่จำกัดเวลาและบรรลุตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูปรายวิชา ภาษาไทย เรื่อง คำนาม สำหรับนักศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ก่อนเรียนและหลังเรียนจากบทเรียนสำเร็จรูป
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้นคือวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคำนาม ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น
ตัวแปรตาม คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทย เรื่อง คำนาม ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
นิยามศัพท์เฉพาะ
บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง สื่อการสอนที่มุ่งให้นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตัวเองโดยแบ่งเนื้อหาออก เป็นกรอบหลายๆกรอบซึ่งแต่ละกรอบจะมีเนื้อหาที่เรียบเรียงไว้ มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ตามลำดับโดยมี ส่วนที่นักศึกษาจะต้องตอบสนองด้วยการเขียนตอบซึ่งอาจอยู่ในรูปเติมคำในช่องว่าง เลือกคำตอบ ฯลฯ และมีส่วนที่เป็นเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งอาจอยู่ข้างหน้าของกรอบนั้นหรือกรอบถัดไป หรืออยู่ที่ส่วนอื่นของบทเรียนก็ได้บทเรียนสำเร็จรูปที่สมบูรณ์จะมีแบบทดสอบวัดความ ก้าวหน้าของการเรียนโดยทำ การทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแล้วพิจารณาว่าหลังเรียนนักศึกษาแต่ละคนมีคะแนนมากกว่าก่อนเรียนมากน้อยเพียงใด
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หมายถึง ความรู้ความสามารถของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นใน เนื้อหาวิชาภาษาไทย เรื่อง คำนาม วัดได้จากแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การวิจัยครั้งนี้จะทำให้เกิดประโยชน์ดังนี้ คือ
1. ประโยชน์สำหรับนักศึกษา
1.1 นักศึกษามีความรู้และเข้าใจในบทเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง คำนาม ดีขึ้น
1.2 มีบทเรียนสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพเป็นแนวทางในการสร้างสื่อการสอนในรายวิชาอื่น ๆ
2 ประโยชน์ต่อผู้สอน / ครู
2.1 สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม สำหรับใช้ในการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ระดับ มัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีประสิทธิภาพ
2.2 เป็นสื่อการสอนช่วยประหยัดเวลาในการสอนวิชาภาษาไทย เรื่อง คำนาม
1. วิธีดำเนินการวิจัย / วิธีดำเนินการแก้ปัญหา
ประชากร คือ นักศึกษากลุ่มตำบลดอนนางหงส์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 40 คน
กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตำบล ดอนนางหงส์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาไทย ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 จำนวน 10 คน ที่มีปัญหาไม่เข้าใจเรื่อง คำนาม
เครื่องมือที่ใช้
2.1 เครื่องมือในการแก้ปัญหา / แนวทางแก้ปัญหา คือ
บทเรียนสำเร็จรูป วิชาภาษาไทย เรื่องคำนาม โดยผู้สอนจะทำการทดสอบนักศึกษาก่อนใช้นวัตกรรมและดำเนินการสอนเนื้อหาโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ดังกล่าวในการพัฒนานักศึกษา ซึ่งในตัวนวัตกรรมประกอบด้วยเนื้อหา แบบทดสอบ เพื่อนำผลมาใช้นวัตกรรมและนำนวัตกรรมมาปรับปรุงเพื่อให้ได้บทเรียนสำเร็จรูปที่มีประสิทธิภาพ
2.1 .1 การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป ผู้วิจัยดำเนินการตามลำดับขั้นตอน ดังนี้

           1) ศึกษาความคิดรวบยอด จุดประสงค์การเรียนรู้และเนื้อหาจากหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและหนังสือแบบเรียนวิชาภาษาไทยเรื่อง คำนาม
            2) ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับหลักการสร้างแบบเรียนสำเร็จรูป ลักษณะและรูปแบบที่เหมาะสมกับวัย ความสนใจ ความต้องการในการอ่านตามหลักจิตวิทยาและพัฒนาการของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างหนังสือให้เหมาะสมกับนักศึกษาผู้ใหญ่
            3) วางโครงเรื่อง ( plot ) ตามลำดับก่อน – หลัง โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นกรอบความรู้จากง่ายไปยาก กำหนดเนื้อหาตั้งแต่เริ่มจนถึงสุดท้ายให้ตรงตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้
            4) สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม
                 1. สร้างบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม โดยคิดค้นตัวอย่างคำนาม การแทรกรูปภาพที่น่าสนใจจากภาพถ่ายและจากอินเตอร์เน็ต
                2. ตรวจสอบความถูกต้องของตัวสะกดและไวยากรณ์
                3. นำบทเรียนสำเร็จรูปไปทดลองใช้กับนักศึกษากลุ่มอื่นที่ใช้กลุ่มตัวอย่างว่านวัตกรรมชิ้นนี้เหมาะสมหรือไม่
                4. นำผลสะท้อนมาปรับปรุงให้มีความถูกต้องสมบูรณ์
                5. นำนวัตกรรมไปใช้กับนักศึกษา
               6 นำบทเรียนสำเร็จรูปที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจและนำมาปรับปรุงแก้ไขตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ
              7. พิมพ์บทเรียนฉบับจริงสำหรับใช้ต่อไป
2.2. เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล
2.2.1 แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้
ขั้นตอนการสร้างเครื่องมือ
             1. ศึกษาตัวอย่างแบบทดสอบจากตัวอย่างงานวิจัยในเอกสาร จากอินเตอร์เน็ตหนังสือต่าง ๆ เกี่ยวกับงานวิจัย
             2. ศึกษาวิธีการสร้างแบบทดสอบ จากอินเตอร์เน็ต หนังสือแบบเรียน
             3. ขอคำแนะนำวิธีการสร้างแบบทดสอบจากผู้เชี่ยวชาญ จากโรงเรียนวัด พระธาตุพนม
            4. สร้างแบบทดสอบ
             5. ตรวจหาประสิทธิภาพของแบบทดสอบโดยผู้เชี่ยวชาญว่าเหมาะสมสามารถวัดพัฒนาการของนักศึกษาระดับประถมศึกษาได้หรือไม่
             6. ปรับปรุงแบบทดสอบตามคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญ
             7. นำผลสะท้อนมาปรับปรุงแก้ไข
             8. นำไปใช้กับนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง
การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยเป็นผู้รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยใช้แบบทดสอบก่อน / แบบทดสอบระหว่างเรียน / แบบทดสอบหลังเรียน เก็บรวมรวบข้อมูลจากศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตำบลดอนนางหงส์จำนวน 10 คน
การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยโดยมีขั้นตอน ดังนี้
               1. ระยะเวลา ผู้วิจัยได้ใช้ระยะเวลาในการทดลองจำนวน 3 หน่วย ๆละ 40 นาทีทดลองในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553
               2. ทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง นำบทเรียนสำเร็จรูปไปใช้ทดลองกับนักศึกษาในกลุ่มตำบลดอนนางหงส์ จำนวน 10 คน
สัปดาห์ที่ 1
1. วิเคราะห์ปัญหาและพฤติกรรมของนักศึกษา
นักศึกษา
- ส่วนใหญ่ให้ความสนใจที่ได้หนังสือเรียนรูปแบบใหม่ที่มีความสวยและมีภาพประกอบ ขนาดอักษรตัวใหญ่อ่านง่าย มีส่วนน้อยที่บ่นว่าไม่มีเวลามาเรียน
ครูผู้สอน
- นำบทเรียนสำเร็จรูปไปใช้กับนักศึกษาในกลุ่มตำบลดอนนางหงส์ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ในช่วงแรกครูจะเป็นผู้แนะนำการใช้บทเรียนสำเร็จรูปให้นักศึกษาทำแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อวัดพื้นความรู้พื้นฐานของนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- นักศึกษาส่วนหนึ่งไม่ค่อยสนใจเนื่องจากอายุมากกว่าเพื่อนๆในกลุ่มจึงชอบแยกตัวออกจากเพื่อน
พบว่า
- นักศึกษาที่ให้ความสนใจได้ทำการทดสอบบทเรียนสำเร็จรูปแต่จะมีการเปิดเฉลยอ่านบ้างในบ้างข้อที่คิดว่ายาก
- ครูผู้สอนไม่ได้เข้ารับการอบรมจึงทำให้ยังไม่ชัดเจนในเรื่องการใช้บทเรียนสำเร็จรูปให้สอดคล้องกับงานวิจันในชั้นเรียน
สัปดาห์ที่ 2
ครูผู้สอน หลังจากที่ครูได้ศึกษาเพิ่มเติมและได้รับคำแนะนำจากวิทยากรแกนนำด้านงานวิจัยและได้เห็นตัวอย่างจากอินเตอร์เน็ตครูเริ่มมีเข้าใจในงานวิจัยมากขึ้นโดยอธิบายความสำคัญ ประโยชน์ของการบทเรียนสำเร็จรูปเมื่อจบบทเรียนให้นักศึกษา จะได้รับความรู้เรื่องคำนาม โดยการเรียนรู้ไปพร้อมกับการทดสอบระหว่างเรียน
พบว่า
นักศึกษาและครูผู้สอนได้เรียนรู้ไปพร้อมกันในส่วนงานวิจัยครูเริ่มให้ความสำคัญ สังเกตได้จากการซักถามและการตอบคำถามระหว่างวิทยากรกับครู ครูกับผู้เรียน
สัปดาห์ที่ 3
ครูผู้สอน การเรียนรู้ในสัปดาห์นี้จะเป็นแบบทดสอบมากกว่าศึกษาเนื้อหาในบทเรียนเมื่อจบบทเรียนให้นักศึกษาทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากเรียนจบ
พบว่า
สัปดาห์นี้นักศึกษาให้ความสนใจ ทำข้อสอบผ่านเกณฑ์ที่กำหนดทุกคน
สถิติที่ใช้และวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ยของคะแนนจากการสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน และ แบบทดสอบหลังเรียน การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ผลการวิจัย
 ผลการศึกษาวิจัย เป็นดังนี้
                  ได้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง คำนาม และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องคำนา สำหรับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น  ปรากฏว่า ผลสัมฤทธิ์เมื่อผู้วิจัยทำการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปจะมีค่าสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการเรียนเพราะผู้เรียนเกิดทักษะและความชำนาญอันมีผลมาจากแรงจูงใจและความสนุกสนานในการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง  ทำให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรง  สามารถสร้างและสรุปองค์ความรู้ด้วยตนเอง  ดังปรากฏตามผลการวิจั   จากผลการวิจัยดังกล่าว ทำให้ผู้ทำการวิจัยเชื่อว่ากิจกรรมกระบวนการเรียนรู้ที่ใช้สื่อการเรียนต่าง ๆ ที่ให้ผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน  ไดมีการแสดงออก  ได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนๆรวมทั้งได้คิดและปฏิบัติจริงจะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ถาวรตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดรวมทั้งสร้างเจตคติ
             
ตารางแสดงค่าที่ได้จากการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน และหลังเรียน
บทเรียนสำเร็จรูปของกลุ่มตัวอย่าง
                                             การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียน และหลังเรียน
รหัสนักศึกษา                   ชื่อ-สกุล                 ก่อนใช้บทเรียน หลังใช้บทเรียน  ความก้าวห้นา ร้อยละความก้าวหน้า
5312-00023-0 นายวิทูรย์ อุ่นชัย                                      6                   9                        +3                         30
5312-00024-9 นายพาเกียรติ กุลสอนนาม                       7                   8                       +2                         20
5312-00025-8 นายวรายุทธ์ สุวรรณศรี                             5                 10                      +5                         50
5312-00026-7 นายวิชิตชัย วงศ์ชมภู                                3                   9                       +6                         60
5312-00027-6 นายทวีวัฒน์ ชนะเคน                                5                  7                       +2                           20
5312-00028-5 นายอรรถพล เทวะประกาย                        4                  7                     +3                           30
5312-00196-5 นางสัมพันธุ์ กานิล                                    4                   8                       +4                           40
5312-00197-4 นายพรากร ศรีมณีรัตน์                               7                10                      +3                           30
5312-00198-3 นางรัชนี คำมุงคุณ                                     6                 9                         +3                           30
5312-00199-2 นางบุญธรรม ไชยนาม                               6                  9                      +3                            30
                                        คะแนนรวม                                53                86                      +34                         34

-หมายเหตุ ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหลังจากใช้นวัตกรรม คะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย ร้อยละ 25

 การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
            - ผลการศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคำนามกับหลังใช้พบว่าก่อนเรียนนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 5.3 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 53 ของคะแนนเต็ม หลังเรียนนักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย 8.6 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86 ของคะแนนเต็ม และได้ค่าคะแนนความก้าวหน้าของนักศึกษาร้อยละ 34 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด(ร้อยละ 25 ) แสดงให้เห็นว่าบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องคำนาม สามารถใช้พัฒนาผู้เรียนได้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีขึ้น
อภิปรายผล
จากการที่ได้ดำเนินการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักศึกษาระดับประถมศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2553 โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปเรื่องคำนาม ปรากฏว่า สามารถแก้ปัญหาการเขียนสะกดคำที่มีคำนาม ของนักศึกษาได้ นอกจากนี้ยังส่งผลถึงการพัฒนาการของนักศึกษาด้านต่างๆ
ผลสะท้อน
ผู้บริหาร
               1 . ควรจัดทำบทเรียนสำเร็จรูปในหัวข้อเรื่องที่หลากหลาย เพื่อจะได้ทราบว่าผลการดำเนินการเรียนการสอนมีความแตกต่างกันอย่างไร
              2. ควรศึกษาอิทธิพลอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการเรียนบทเรียนสำเร็จรูปของนักศึกษา เช่นอายุ เพศ สภาพครอบครัว ฐานะทางเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมทางสังคม เพื่อจะได้รูปแบบของบทเรียนสำเร็จรูปได้เหมาะสม
                 3. ควรมีการนำบทเรียนสำเร็จรูปนี้ไปทดลองสอนเปรียบเทียบระหว่างการสอนแบบอื่น ๆ กับการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป
ครูกศน.
1. เนื้อหาในบทเรียนสำเร็จรูปเหมาะกับนักศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2. การออกแบบน่าสนใจ ภาพประกอบเหมาะสม
3. ความถูกต้องของข้อมูลน่าเชื่อถือ
นักศึกษา
1. เป็นการเรียนรู้ที่น่าสนใจ ควรมีในเลือกหลายวิชา
2. ตัวอักษรอ่านง่าย รูปภาพสวยดี
3. น่าจะมีแจกทุกคน
ผู้วิจัย  ข้อดีและข้อที่เป็นปัญหาของบทเรียนสำเร็จรูป
บทเรียนสำเร็จรูปมีทั้งข้อดีและข้อที่เป็นปัญหาดังนี้
ข้อดี
1) นักศึกษามีโอกาสเรียนด้วยตนเองตามความสามารถของตน เป็นการตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล
2) นักศึกษาจะเรียนที่ใดหรือเมื่อใดก็ได้
3) นักศึกษาได้รับการกระตุ้นให้เกิดกำลังใจในการเรียน เพราะเรียนไปตามลำดับความยากง่ายและทราบคำตอบที่ทำไป
ข้อที่เป็นปัญหา
1) การใช้บทเรียนสำเร็จรูปอย่างเดียวโดยตลอด จะทำให้ผู้เรียนขาดการติดต่อซึ่งกันและกันไม่ส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน
2) การใช้บทเรียนสำเร็จรูปในชั้นเรียน จะมีลักษณะเป็นผู้ช่วยครูมากกว่าที่จะใช้แทนครู ทั้งนี้เพราะอาจมีนักศึกษาบางคนมีข้อสงสัยต้องการคำแนะนำจากครู จึงจำเป็นต้องคอยดูแลตลอดเวลา ครูอาจต้องเป็นผู้ดำเนินการสอบนักศึกษาก่อนและหลังเรียนบทเรียนสำเร็จรูปนั้น
3) การใช้บทเรียนสำเร็จรูปในชั้นเรียน ผู้ที่เรียนได้รวดเร็วจะเสร็จก่อนและมีเวลาเหลืออีก ถ้าไม่มีกิจกรรมให้ทำก็อาจมีพฤติกรรมที่รบกวนคนอื่น จะต้องวางแผนและกำหนดงานพิเศษให้ส่วนผู้ที่เรียนช้าบางคนอาจทำไม่เสร็จ ต้องให้ทำนอกเวลาหรือให้ไปทำที่บ้านต่อ
4) ความซื่อสัตย์เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้บรรลุผลที่ปรารถนา ถ้านักศึกษาไม่ปฏิบัติตามวิธีเรียนที่ถูกต้อง กล่าวคือไม่ได้ใช้ความคิดในการตอบแต่ใช้วิธีดูเฉลยคำตอบแล้วนำมาตอบ นอกจากจะทำให้เรียนไม่ได้ผลแล้ว ยังปลูกฝังการโกงอีกด้วย จึงควรชี้แจงให้เข้าใจให้ถูกต้องว่าวิธีการดังกล่าวนั้นไม่มีประโยชน์ใดๆ สำหรับนักศึกษา

ภาคผนวก

ตารางที่ 1 แบบให้คะแนนการเข้าร่วมกิจกรรม

ข้อที่ เกณฑ์การให้คะแนน                              รายละเอียด                                             คะแนน
1 การส่งงาน                                           ส่งทันตามเวลาที่กำหนด                                    10
2 ความเป็นระเบียบ                                ความสะอาดเป็นระเบียบเรียบร้อย                        10
3 ความถูกต้อง                                      ตัวสะกดไวยากรณ์เขียนถูกต้อง                            10
4 ความสมบูรณ์ของเอกสาร                 ทำงานครบทุกกิจกรรม                                          10
                                                                                                                                   รวม 40 คะแนน

111111111                      ระดับคะแนน 30 - 40 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ดี
                                       ระดับคะแนน 20 - 30 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง
                                       ระดับคะแนน 10 - 20 คะแนน อยู่ในเกณฑ์พอใช้
                                       ระดับคะแนนน้อยกว่า 10 คะแนน อยู่ในเกณฑ์ควรปรับปรุง